วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Search (การค้นหา)

Search (การค้นหา)

     Search Engine   คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้โดยกรอกข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการที่สุดเอามาใช้งาน  โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา
     
     ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น


ตัวอย่าง Web Search Engine
          1. 
http://www.google.co.th/
          2. http://www.youtube.com/
          3. http://dict.longdo.com

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Engine     สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้
   1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ


   2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้านซ้ายบน 
ของหน้าต่างที่แสดง) 
     3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 
     4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site 
     5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser    ซึ่งการค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ browser ช่วยค้นหาให้  ขั้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ 

     Search Engine แต่ละตัวมีข้อดีในการสืบค้นและวิธีการในการสืบค้นที่แตกต่างกัน ตลอดจนมีการจัดทำส่วนพิเศษต่างๆ ในการสืบค้นเพื่อช่วยผู้ใช้  และเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้ควรมีความรู้เกี่ยวกับการค้นหา ดังนี้ คือ
     1.วิธีการใช้ Search Engine แต่ละเว็บไซต์
     Search Engine แต่ละตัวจะมีส่วนช่วยในการอธิบายวิธีใช้ในส่วนที่เรียกว่า Help หรือ
About  เช่น  Yahoo   มีวิธีกำหนดคำค้นเพื่อให้ได้ผลค้นที่เฉพาะเจาะจงหรือตรงต่อความต้องการ โดย
          1.1 ใช้เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) เพื่อค้นหาคำที่มีการสกดคล้ายกัน เช่น smok*
หมายความว่า ให้ค้นหาคำทั้งหมดที่ขึ้นด้วย 5 ตัวอักษรแรก เช่น smoke smoker เป็นต้น
          1.2 ใช้เครื่องหมาย + สำหรับกำหนดให้แสดงผลการค้นเฉพาะเว็บไซต์ ที่ปรากฏ
คำทั้งสองคำ เช่น Secondary + education
          1.3 ใช้เครื่องหมาย  “    ”  สำหรับการค้นหาคำที่เป็นวลี เช่น  “great barrier reaf”

ฯลฯ
     2.การใช้ตรรกบูลีน  (Boolean Logic)
เพื่อให้สามารถกำหนดการค้นหาที่แคบเข้ามา โดยใช้คำ  AND  OR  NOT เข้าช่วยในการ
กำหนดคำค้น เพื่อให้สามารถค้นหาได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น 

          2.1 การใช้ AND
          การกำหนดใช้ AND จะใช้เมื่อต้องการกำหนดให้ค้นรายการที่ปรากฏคำที่มีความเกี่ยว
ข้องกัน ในรายการเดียวกัน เช่น water and soil
          การกำหนดแบบนี้หมายความว่า
               1. ผลการค้นต้องการ คือ เฉพาะรายการที่มีคำว่า water  และ soil เท่านั้น
               2. หากรายการใดที่มีแต่คำว่า  water  หรือ soil ไม่ต้องการ

          2.2  การใช้คำว่า OR
          การใช้ OR เป็นการขยายคำค้น โดยกำหนดคำหลายที่เห็นว่ามีความหามายคล้ายกัน
หรือสามารถสะกดได้หลายแบบ 

          2.3  การใช้ NOT
          การใช้ NOT จะใช้ในเมื่อต้องการจำกัดการค้นเข้ามา คือไม่ต้องการรายการที่มีเนื้อหา
ส่วนที่ไม่ต้องการปรากฏอยู่  โดยกำหนดให้ตัดคำที่ไม่ต้องการออกเช่น water not soil
          การกำหนดคำแบบนี้ หมายถึง
               1. ให้ค้นหารายการที่มีคำว่า water แต่หากรายการใดมีคำว่า soil อยู่ด้วย ไม่ต้องการ
               2. ผลสืบค้นที่ได้ทุกรายการที่มีคำว่า water และหากมีคำว่าSoil ให้คัดออกทุกรายการ

เว็บไซต์ที่ให้บริการ  Search Engine
     
     Search Engine เป็นเครื่องมือหรือโปรแกรมในการค้นหาเว็บต่างๆ โดยมีการเก็บ รายชื่อเว็บไซต์และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของเว็บไซต์และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ บาง search engine อาจไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในserver ของตัวเอง แต่อาจอาศัยข้อมูลจากเจ้าของ server นั้นๆ
     เครื่องมือหรือโปรแกรมสำหรับการสืบค้น (Search Engine) มีอยู่มากมายและมีให้บริการอยู่ตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้บริการการสืบค้นข้อมูลโดยเฉพาะ การเลือกใช้นั้นขึ้นกับประเภทของข้อมูล สารสนเทศที่ต้องการสืบค้น Search Engine ต่างๆ จะให้ข้อมูลที่มีความลึกในแง่มุมหรือศาสตร์ต่างๆ
ไม่ เท่ากัน ตัวอย่าง Search Engine ที่นิยมใช้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นของต่างประเทศ และของไทยเอง
     ตัวอย่าง เว็บไซต์ของไทยและต่างประเทศ ได้แก่ 


เว็บไซต์ Search Engine ยอดนิยม
     ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เป็นเครื่องมือช่วยค้นเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะนามานุกรม และแบบดรรชนี ซึ่งแต่ละเว็บไซต์ก็มีข้อดีแตกต่างกันไป ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ระดับแนวหน้าของไทยและต่างประเทศ Yahoo  http://www.yahoo.com  Yahoo (อ่านว่า ยา-ฮู) เป็น Search Engine ที่เก่าแก่และเรียกว่ามีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรอินเทอร์เน็ต จุดเด่นหลักของเว็บไซต์นี้คงมาจากความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่ทำได้อย่างรวดเร็ว จุดหนึ่งที่ทำให้ Yahoo โดดเด่นเป็นพิเศษก็คือการแบ่งเว็บไซต์ที่เก็บในฐานข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่และยังมีการโยงใยระหว่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ


Alta Vista
     http://www.altavista.com

     Alta Vista เป็น Search Engine ที่มีคุณสมบัติการค้นหาด้วยความเร็วปานสายฟ้าแลบและตรงกับความต้องการของผู้ใช้อย่างมาก สามารถสั่งให้ค้นหาแบบคำสำคัญหรือคีย์เวิร์ดได้อย่างชัดเจน อีกทั้งในการใช้ตรรกบูลีน (OR, AND, NOT) จะดีมาก


Go
     http://www. go.com
     เป็น Search Engine ที่มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่และยังรวมถึงฐานข้อมูลของรายชื่ออีเมล์และนิวส์กรุ๊ปได้ เป็น Search Engine ที่เป็นแบบ นามานุกรมที่มีความเร็วในการค้นหา อีกทั้งหน้าตาเว็บยังสวยงาม และมีลูกเล่นด้วย


Shareware
     http://www.shareware.com

     เป็น Search Engine เฉพาะด้านซึ่งจะเก็บรวบรวมรายชื่อโปรแกรมทั้งฟรีแวร์ (Freeware) (โปรแกรมแจกฟรี) แชร์แวร์ (Shareware)(โปรแกรมใช่ก่อน ถูกใจจ่ายเงินทีหลัง) และโปรแกรมอัพเกรดต่าง ๆ มาทำเป็นฐานข้อมูลไว้ ดังนั้นถ้าคุณต้องการหาโปรแกรมแชร์แวร์มาใช้สามารถใช้เว็บไซต์นี้ค้นหาตำแหน่งได้อย่างดีเยี่ยม


Siamguru
     http://www.siamguru.com

     Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหาเว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการข้อมูลโดยเน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต มีความสามารถเทียบเท่า search engineชื่อดังจากต่างประเทศ 


Sanook
     http://www.sanook.com

     เป็นเว็บไซต์ชื่อดังของไทยที่เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลของไทยที่มีข้อมูลให้ค้นหามากมายทั้งของไทยและทั่วโลกซึ่งมีทั้งแบบนามานุกรม และคำค้น ซึ่งจะบอกที่อยู่ของเว็บไซต์และมีคำอธิบายเว็บที่หาอย่างเข้าใจง่าย และยังสามารถส่งเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ทางอีเมล์ด้วย


Google
     www.google.com
     Google เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งของโลก ในอดีตเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านฐานข้อมูลเพื่อให้บริการแก่เว็บไซต์ค้นหาอื่นๆ ปัจจุบันได้เปิดเว็บไซต์ค้นหาเอง มีฐานข้อมูลมากกว่าสามพันล้านเว็บไซต์และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน จุดเด่นที่เหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆ คือเป็นเว็บไซต์ค้นหาที่สนับสนุนภาษาต่างๆ มากกว่า 80 ภาษาทั่วโลก (รวมทั้งภาษาไทย) และมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้บริการในส่วนต่างๆ ของโลกมากถึง 36 ประเทศ รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งบริการค้นหาของ Google จะแยกฐานข้อมูลออกเป็น 4 หมวด และแต่ละหมวดมีการค้นหาแบบพิเศษเพิ่มเติมด้วย คือ  
          เว็บ : เป็นการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก 
          รูปภาพ : เป็นการค้นหารูปภาพหลากหลายฟอร์แมตจากเว็บไซต์ต่างๆ 
          กลุ่มข่าว : เป็นการค้นหาเรื่องราวที่น่าสนใจจากกลุ่มข่าวต่างๆ
          สารบนเว็บ : การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่แยกออกเป็นหมวดหมู่


 การสืบค้นข้อมูลภาพ
          ในกรณีที่นักเรียนต้องการที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นภาพ เพื่อนำมาประกอบกับรายงาน มีวิธีการค้นหาไฟล์ภาพได้ดังนี้
          1. เปิดเว็บ www.google.co.th
          2. คลิกตัวเลือก รูปภาพ
 
 


          3. พิมพ์กลุ่มชื่อภาพที่ต้องการจะค้นหา (ตัวอย่างทดลองหาภาพเกี่ยวกับ ปราสาทหินพิมาย)






          4. คลิกปุ่ม ค้นหา



         5. ภาพทีค้นหาพบ


         6. การนำภาพมาใช้งาน ให้คลิกเมาส์ด้านขวาที่ภาพ > Save Picture as


          7. กำหนดตำแหน่งที่จะบันทึกที่ช่อง Save in 
          8. กำหนดชื่อที่ช่อง File Name 
          9. คลิกปุ่ม Save







การสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engineขั้นตอนการสืบค้นแผนที่ด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ 
http://www.google.co.th/
               2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “แผนที่”
               3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) สถานที่ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               4. กดที่ปุ่ม “ค้นหา Maps”
               5. ระบบจะทำการค้นหาสถานที่ที่ต้องการ แล้วแสดงออกมาในรูปแบบของแผนที่ รวมไปถึงลิ้งค์ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ อีกด้วย
 

การสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engineขั้นตอนการสืบค้นวีดิโอด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ 
http://www.youtube.com/
               2. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               3. กดที่ปุ่ม “search”
               4. ระบบจะทำการค้นหาวีดิโอที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงวีดิโอที่ค้นหาพบ


การสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
ขั้นตอนการสืบค้นคำศัพท์ด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ 
http://dict.longdo.com
               2. พิมพ์คำศัพท์ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               3. เลือกบริการ “dictionary”
               4. กดที่ปุ่ม “submit”
               5. ระบบจะทำการค้นหาคำศัพท์ที่ต้องการพร้อมคำแปล








วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

E-card (การ์ดอวยพร)

E-card

E-Card คืออะไร

     E-Card หรือ Electronic Card หมายถึง บัตรอวยพร หรือ บัตรทักทายในรูปแบบอิเลคโทรนิค ซึ่งในปัจจุบันมีเว็บไซต์เป็นจำนวนมากทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ให้บริการส่ง e-card ในวาระหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่แสนสะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่ายและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย มีการ์ดแบบต่าง ๆ ให้เลือกมากมายหลายแบบ แต่ละแบบจะบรรจุข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเพลง ที่ผู้ส่งสามารถเลือกตกแต่งได้เองตามที่ต้องการ 
     ข้อมูลที่ควรจะเตรียมไว้ก่อนที่จะใช้บริการส่ง e-card ก็คือชื่อ-นามสกุล และ E-Mail address ของผู้รับและของตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการที่เว็บไซต์ต่าง ๆ เหล่านั้น จะใช้เป็นเส้นทางส่ง e-card ไปถึงผู้รับปลายทาง และใช้แจ้งให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับ e-card ได้เปิดอ่าน e-card นั้นแล้วหรือยัง



ตัวอย่างการส่ง E-Card 

     ในเว็บ http://www.phithan-toyota.com/club/gcards/  จะเห็นได้ว่ามีช่องให้เติมข้อความ และยังมีคำอวยพรแบบต่างๆที่สามารถเลือกเพิ่มเติมได้ เมื่อได้ e-card แล้ว ก็กรอกที่อยู่อีเมมล์ผู้ส่งและผู้รับ เท่านี้ก้เรียบร้อย


ข้อมูลอ้างอิง
http://www.phithan-toyota.com
http://bank33120.exteen.com
http://www.yupparaj.ac.th



ขั้นตอนการส่งอีการ์ด

1. ที่เมนู "ระบบพื้นฐาน"  คลิก  "อีการ์ด"




2. คลิก "เลือกใช้" ที่อีการ์ดรูปแบบที่ต้องการ




3. กรอกข้อมูลผู้รับ  และ ข้อมูลผู้ส่ง  คลิกปุ่ม ถัดไป




4. ระบบจะปรากฎข้อมูลผู้รับและผู้ส่งอีกครั้งเพื่อทำการตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้น คลิก ตกลง เพื่อส่งอีการ์ด


ที่มาhttp://manual.readyplanet.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538830119

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

E-Mail จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

ความหมาย
     E-Mail ย่อมาจาก Electronic Mail แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นการรับส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์
     1. รวดเร็ว เพราะสามารถติดต่อกันได้ทันที
     2. สะดวก เพราะไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่ไปรษณีย์
     3. ประหยัด เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าจดหมายธรรมดาเป็นอย่างมาก
     4. สามารถส่งภาพเลื่อนไหว และเสียงได้
     5. สามารถรับและส่งได้ตลอด 24 ชั่วโมง

เว็บไซต์ที่ใช้บริการฟรีอีเมล์

     www.hotmail.com
     www.yahoo.com
     www.thailand.com
     www.thaimail.com
     www.chaiyo.com
     www.doramail.com
     www.usa.com
     www.rockmail.com
          ฯลฯ

การสมัครฟรีอีเมล์
     ในการสมัครฟรีอีเมล์นั้น ผู้ใช้สามารถสมัครได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆและสามารถสมัครได้ไม่จำกัด แต่ถ้าเป็น Web เดียวกัน ชื่อ E-mail Address จะต้องไม่ซ้ำกัน ส่วน Password สามารถซ้ำกันได้ถึงแม้จะเป็นเมล์เดียวกันหรือไม่ก็ตาม ทั้งนี้ ไม่ว่าจะสมัครเมล์ใด ก็สามารถที่จะติดต่อได้กับทุกเมล์

การสมัครฟรีเมล์จองHotmail.com
  1. เข้าเว็บไซต์ชื่อ www.hotmail.com
  2. จะปรากฏหน้าจอดังนี้
  3. คลิกที่ New ลงทะเบียน

     4.กรอกรายละเอียด

          1. ชื่อ E-mail


        2. การสร้างรหัสผ่าน


        3. โทรศัพท์มือถือ ใส่หมายเลขโทรศัพท์

        4. เมลล์สำรอง หรือ คำถามกันลืม

                 4.1 อีเมลสำรอง 


                 4.2 คำถาม - คำตอบเฉพาะ

          5. กรอกฟอร์มข้อมูล ข้อมูลส่วนตัว


          6. กรอกรหัสรักษาความปลอดภัย


          7. ข้อผิดพลาดต่างๆของการสมัคร Hotmail ไม่ได้ หรือไม่ ผ่าน

                7.1 e-mail มีคนใช้แล้ว


                  7.2 ใส่รหัสรักษาความปลอดภัยผิด


     5. เริ่มใช้ อีเมลล์ของ Hotmail

จะใช้งาน hotmail หรือดูเมลล์ ให้กดที่หมายเลข 1 จากภาพด้านบน คือ hotmail(1)
สำหรับเลขที่ 2
 คือชื่อของเราผลมาจากการกรอกข้อมูลส่วนตัวใน ข้อที่ 5
 จบการสอนสมัคร E-Mail ของ Hotmail





ที่มาhttp://www.zoneza.com





วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เวิลด์ไวด์เว็บ



ความเป็นมาของ เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)

เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรีกีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser) ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้
ข้อมูลบนเว็บ จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆ แต่ละหน้าเขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) ซึ่งเชื่อมโยงกันได้ จากทุกมุมโลก ราวกับใยแมงมุม จึงเรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (www) หรือเครือข่ายใยแมงมุม
องค์ประกอบของเวิลด์ไวด์เว็บ
  • อินเตอร์เน็ต
  • www (World Wide Web)
  • Website
  • Webpage
  • Web Browser
  • DNS

WWW (World Wide Web) หมายถึง                                                                                                               

เรียกสั้นว่า เว็บ (Web) เปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่รวบรวมข้อมูลที่มากที่สุดในโลก เราสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้จากบริการเว็บ ข้อมูลเว็บจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า Hypertext และทำการเชื่อมโยง (Links) ข้อความหรือรูปภาพ เข้ากับเอกสารอื่น ๆ อย่างเป็นอิสระต่อกัน


แหล่งเก็บเว็บเพจ

เว็บไซต์ (Web Site) 
      เว็บไซต์ คือ คำที่ใช้เรียกกลุ่มของเว็บเพจ ( ดังนั้นภายในเว็บไซต์จะประกอบไปด้วยโฮมเพจและเว็บเพจ )
เว็บไซต์ก็คือแหล่งที่รวบรวมเว็บเพจจำนวนมากมายหลายหน้าในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งในการเสนอเรื่องราวที่อยู่บนเว็บไซต์ที่แตกต่างไปจากโปรแกรมโทรทัศน์ เนื้อหาในนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ เนื่องจากการทำงานบนเว็บจะไม่มีวันสิ้นสุด ทั้งนี้เนื่องจากเรา
สามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มสารสนเทศบนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และแต่ละเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงกันภายในเว็บไซต์หรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเรามักใช้เรียกเว็บที่มีขนาดใหญ่และมีการจดทะเบียนชื่อเว็บไซต์นั้นๆไว้แล้ว (Domain Name) เช่นhttp://www.geocities.com http://www.sanook.com http://www.yahoo.com เป็นต้น

เว็บเพจ (Web Page)
เว็บเพจ คือ คำที่ใช้เรียกหน้าเอกสารต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไฟล์ HTML (Hyper Text Markup Language) เปรียบเสมือนหน้ากระดาษแต่ละหน้าที่มีเรื่องราวต่างๆมากมายบรรจุอยู่ในนิตรสาร แต่แตกต่างกันตรงที่มีการเชื่อมโยง (Link) ซึ่งเราสามารถคลิกไปที่หน้าใดของโฮมเพจก็ได้
เว็บเพจ คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเองซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูลที่น่าสนใจ เป็นต้น โดยที่ข้อมูลที่แสดงเป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลที่นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของไฮเพอร์เท็กซ์ คือ เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นที่จะให้ข้อมูลนั้นๆ ในระดับลึกลงไปได้เรื่อย ๆ และเว็บเพจจะต้องมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเฉพาะของตน ซึ่งแหล่งที่อยู่นี้เรียกว่า URL (Uniform ResourceLocator)  เช่น  URL ของโรงเรียนดอกคำใต้วิทยาคม คือ http://www.dkt.ac.th

(** Uniform Resource Locator (URL) โดยที่อยู่เว็บจะปรากฏในช่อง Address ที่ส่วนบนของจอภาพ)
โฮมเพจ (Home page)โดยทั่วไปแล้วในแต่ละเว็บไซต์จะมีโฮมเพจ หรือ หน้าต้อนรับ (welcome page) ซึ่งปรากฏเป็นหน้าแรกเมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา เปรียบเสมือนกับสารบัญและคำนำ ที่เจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตนว่าให้บริการในสิ่งใดบ้าง ดังนั้นหากเราออกแบบหน้าโฮมเพจให้สวยงามและน่าสนใจ โอกาสที่ผู้ชมจะแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนโฮมเพจของเราก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Bowser) 
เป็นโปรแกรมที่เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่แปลงคำสั่งก่อนแล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาในรูปภาพ เสียง และข้อมูลต่าง ๆ การแสดงผลข้อมูลต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตในรูปของ HTML ไม่สามารถที่จะแสดงผลข้อมูลออกมาได้โดยตรงจะต้องใช้เว็บบราวเซอร์ โปรแกรมบราวเซอร์ที่ผู้ใช้นิยมใช้กัน ได้แก่ Microsoft Frontpage , Netscape Composer ,Internet Explorer
DNS : Domain Name System
คือ หมายเลขประจำเครื่อง บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ซึ่งไม่ซ้ำกัน เรียกกันง่ายว่า IP หรือ Ip Address เช่น www.dkt.ac.th

  • th คือ ชื่อประเทศไทย
  • ac คือ ประเภทองค์กร



โปรแกรมการเขียนเว็บเพจ

โปรแกรมที่ช่วยให้เราสามารถสร้างเว็บขึ้นมาโดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดภาษา HTML เลยก็ได้ ซึ่งการสร้างเว็บเพจก็สามารถเลือกใช้เครื่องมือ (Tools) ต่างๆ ได้มากมาย โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างเว็บ มีประสิทธิภาพและมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน แล้วแต่จะนำไปใช้ ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้สร้างเว็บเพจ เช่น โปรกรม Dreamweaver, NetObject, HomeSite , ColdFusion, FrontPage, Visual InterDev หรืออาจสร้างได้โดยใช้ภาษาสำหรับสร้างเว็บเพจ (Web Program's Language) โดยเฉพาะ เช่น Active Server Page (ASP) ,PHP, Java Server Pages (JSP), JavaScript, VBScript, Visual C++.Net ,Visual C# .Net 

ทุกโปรแกรมที่ได้กล่าวถึงข้างต้นต่างก็มีพื้นฐานมาจากการใช้ภาษา HTML (HyperText Markup Language) เกือบทั้งหมด โดยเป็นภาษาที่มีลักษณะของโค้ด คือเป็นไฟล์เก็บข้อมูลที่เป็นตัวอักษรในมาตรฐานของรหัสแอสกี (ASCII Coed) ซึ่งสามารถที่จะอ่านเข้าใจได้ และเป็นเอกสารที่มีความสามารถสูงกว่าเอกสารธรรมดาทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นเอกสารแบบไฮเปอร์เท็กซ์ และจัดอยู่ในตระกูลของภาษาที่ใช้สำหรับกำหนดรูปแบบของเอกสาร (Markup Language)

กราฟิกสำหรับเว็บก็เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยสื่อความหมายของเว็บให้ผู้ใช้ได้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น รูปแบบกราฟิกสำหรับเว็บมีประเภทไฟล์อยู่ 2 ประเภทที่นิยม คือ GIF (Graphic Interchange Format) และ JPEG (Photographic Experts Group) ทั้งสองไฟล์นี้เป็นไฟล์ที่นักออกแบบเว็บส่วนใหญ่นำมาใช้บนหน้าเว็บเพราะเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก เมื่อนำมาจัดแสดงบนหน้าเว็บใช้เวลาในการดาว์นโหลดหน้าเว็บไม่นาน

โปรแกรม Micromedia Dreamweaver MX
โปรแกรม Dreamweaver MX เป็นเวอร์ชันล่า โดยเป็นโปรแกรมประเภท Visual Webpage Layout Tool ที่ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพื่อนำเสนอบนอินเทอร์เน็ต มีความสามารถในด้านต่างๆ คือ สามารถสนับสนุนรูปแบบของ Dynamic HTML จัดรูปแบบหน้าเว็บด้วย CSS (Cascading Style Sheets) Dynamic HTML Animation JavaScript Behaviors การออกแบบตาราง เฟรม และการจัดการของเว็บทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งยังมีคุณสมบัติที่นอกเหนือจากนี้อีก ที่จะให้คุณสามารถจัดการกับเว็บได้อย่างมืออาชีพ

โปรแกรม Microsoft FrontPage 2002
จุดเด่นของโปรแกรม FrontPage ในเรื่องของการบริหารเว็บไซต์ได้อย่างดีเยี่ยมเพราะเหมาะสำหรับเว็บที่มีเนื้อหาอยู่ในรูปของโปรแกรม Microsoft Office เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการใช้งานที่ง่ายกว่า Micromedia Dreamweaver MX เพราะไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก โดยสามารถเปลี่ยนแปลงไฟล์เอกสารที่อยู่ในชุด Office ไม่ว่าจะเป็น Word Excel Access และ PowerPoint ให้เป็นไฟล์ HTML ได้อย่างง่าย เพราะปัจจุบันไมโครซอฟต์ได้พัฒนาชุด Office สนับสนุนการใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น บางเว็บไซต์ยังใช้โปรแกรมตัวนี้อยู่เพราะเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

โปรแกรม Macromedia Flash MX
เมื่อคุณต้องการสร้างงานในรูปแบบมัลติมีเดียบนหน้าเว็บของคุณโปรแกรม Macromedia Flash MX เป็นโปรแกรมที่คุณไม่ควรมองข้าม นอกจากจะทำให้เว็บมีรูปแบบที่สวยงามแล้ว ยังสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหว สร้างการโต้ตอบ หรือใส่ลูกเล่นต่างๆ ได้ เพื่อให้เว็บมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันโปรแกรมตัวนี้ได้รับความนิยมสำหรับการออกแบบเป็นอยางดี ส่วนใหญ่เป็นเว็บเกี่ยวกับบันเทิง เกมส์ การ์ตูน ที่นำมาใช้ออกแบบบนหน้าเว็บ นอกจากนี้แล้วความสามารถของโปรแกรมตัวนี้ยังสามารถเพิ่มเติมรองรับกับโค้ดภาษา HTML และ Java Script อีกด้วย

โปรแกรม Adobe Illustrator
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานกราฟิก มี 2 ชนิดคือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ สำหรับการสร้างภาพนั้นจะใช้เพื่อสร้างภาพเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic โดยจัดได้ว่าเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในงานออกแบบระดับสากล สามารถทำการออกแบบรูปภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจน สำหรับการใช้ในการออกแบบภาพบนเว็บอาจจะใช้ออกแบบโลโก้ แบนเนอร์ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้บนเว็บ จากนั้นก็จำมาตกแต่งใน Adobe PhotoShop เพื่อความสวยงามยิ่งขึ้น

โปรแกรม Adobe PhotoShop 
เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพให้เหมาะกับเว็บเพจ ปรับแต่งรูปภาพ ความคมชัดลึกของภาพ การปรับภาพให้คมชัดหรือพร่ามัว การปรับแต่งสีภายในภาพ การใช้ประโยชน์จากเลเยอร์ การสร้างภาพพื้นผิวแบบต่างๆ รวมไปถึงการใช้ฟิลเตอร์เพื่อปรับแต่งภาพหรือปรับขนาดภาพได้ตามความต้องการเพื่อดูสวยงามและเหมาะสมกับหน้าเว็บเพจ ปกติในหนึ่งหน้าจอขนาดจะเป็น 800 X 600 พิกเซล ที่เป็นที่นิยมแต่แนวโน้มในอนาคตการปรับขนาดของจอมอนิเตอร์ความละเอียดจะสูง โดยจะต้องใช้ขนาด 1024 X 768 พิกเซล 




ภาษา HTML

ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาแรกที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เพื่อให้ข้อมูลที่เขียนไปแสดงผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในลักษณะของข้อความ รูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

ภาษา HTML เป็นภาษาที่ง่ายต่อการเรียนรู้ สามารถกำหนดรูปแบบและโครงสร้างได้ง่าย ทำให้ได้รับความนิยมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น และตอบสนองต่องานด้านกราฟฟิกมากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมภาษา HTML รุ่นใหม่ๆ มีข้อดีต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย เช่น
-    สามารถแสดงผลบนเว็บเบราเซอร์ทุกตัวที่สนับสนุน HTML เช่น Microsoft Internet Explorer (I.E.), Netscape Navigator และ American Online เป็นต้น
-    HTML ที่ถูกบันทึกใน Text Editor จะมีชนิดไฟล์เป็น .htm สำหรับระบบปฏิบัติการ DOS และจะมีชนิดไฟล์เป็น .html หรือ .htm ในระบบปฏิบัติการ Windows หรือ ระบบปฏิบัติการ Linux
-    สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจทั่วไปได้ง่าย และไฟล์ที่ได้จะมีขนาดเล็ก เช่น เมื่อเขียนโปรแกรม HTMl จาก Notepad แล้วสามารถนำไปเปิดแก้ไขหรือตกแต่งเพิ่มเติมในโปรแกรม FrontPage หรือ Dreamweaver และโปรแกรมอื่นๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
หลักการสร้างเว็บเพจด้วยตนเองโดยการใช้ภาษา HTML 
การจะสร้างเว็บเพจด้วยตนเองโดยใช้ภาษา HTML ได้นั้น จะต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจอยู่ 2 ประเทภคือ Text Editor และ Web Browser

1. Text Editor คือ โปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการกำหนดข้อความ และรูปแบบคำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML ซึ่งปัจจุบันผู้เขียนโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้โปรแกรม Notepad ในการเขียนโปรแกรม HTML เป็นหลัก
    1.1 Notepad


ภาพที่ 2-1  โปรแกรม notepad

การเข้าโปรแกรมสามารถเข้าได้ดังนี้    start ----->programs---->Accessories----->notepad
จะสังเกตว่าเป็นโปรแกรมที่จะต้องพิมพ์โค้ตเองทั้งหมด เมื่อเวลาพิมพ์โค้ตเสร็จแล้วและต้องการบันทึกปกติโปรแกรมนี้จะบันทึกให้เราเป็นนามสกุล *.txt หรือนามสกุลแบบเท็กไฟล์ แต่ภาษาที่เราจะใช้นั้นคือ html เวลาบันทึกเป็น *.txt จะไม่สามารถเปิดได้ให้ทำการบันทึกเป็นนามสกุล *.html หรือ *.htm ปลี่ยนนามสกุลได้ที่ตรง file name ให้เซพชื่อแล้วตามด้วย .html หรือ .htm 

 1.2  Editplus2
โปรแกรม Text Editor อีกหนึ่งตัวที่แนะนำให้ใช้เพราะเป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกมากมายในการเขียนโปรแกรม ซึ่งไม่เพียงแค่จะสามารถเขียนโค้ตได้เท่านั้น โปรแกรมนี้ยังสามารถเพิ่มคอมไพล์เลอร์หรือตัวแปรภาษาซึ่งใช้ในภาษา c , c++, java ได้อีกด้วยอีกทั้งยังมีการตรวจไวยกรณ์ว่าเขียนโปรแกรมผิดหรือเปล่าบอกจุดที่แก้ไขได้ และมีสคริปสำเร็จรูปให้ใช้ สำหรับภาษา HTML นี้การสร้างไฟล์ใหม่ก็เลือกเป็น HTML โปรแกรมก็จะสร้างโค้ตเริ่มต้นให้



ภาพ:โปรแกรม Editplus
สามารถหาดาวน์โหลดได้ที่ http://www.download.com หรือ http://www.thaiware.com




2. โปรแกรมประเภท WYSIWYG (What you see is what you get) หรือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้างเว็บไซด์
Front Page ของบริษัท ไมโครซอฟท์




Front page โปรแกรมช่วยเขียนภาษา HTML ตัวหนึ่งที่น่าสนใจและอยากแนะนำให้ใช้ นอกจากจะใช้งานง่ายแล้วโปรแกรมยังเป็นลักษณะแบบ Drag and Drop คือลากไอคอนคำสั่งไปวางซึ่งส่วนการเขียนโปรแกรมจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ code , design และ code and design ซึ่งในส่วน design สามารถที่จะ drag and drop คำสั่งมาได้ซึ่งโปรแกรมจะแปลงเป็นภาษา HTML รูปแบบจะคล้ายกับ Microsoft Word ซึ่งโปรแกรมนี้ผลิตมาจากบริษัท Microsoft ที่ทำการผลิตซอฟท์แวร์เพื่อใช้งานอีกต่อไป
เวอร์ชันของ Front Page ตั้งแต่แรกถึงปัจจุบัน

Front Page เวอร์ชัน 2002 ที่มาพร้อมกับชุดออฟฟิศ 2002 เป็นเวอร์ชันแรกที่ออกมาสู่ท้องตลาด
Front Page เวอร์ชัน 2003 ที่มาพร้อมกับชุดออฟฟิศ 2003 เป็นเวอร์ชันที่พัฒนาจากเวอร์ชัน 2002 และเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องมือครบครันและใช้งานง่ายอีกทั้งสนับสนุนภาษาได้หลากหลายเช่น XML เป็นต้น
Front Page เวอร์ชัน 2007 พัฒนาพร้อมกับชุดออฟฟิศ 2007 ออกแบบกราฟฟิกสวยงามมีเครื่องมือที่ใช้งานง่ายมากขึ้นเมนูมีรูปภาพสวยงามสนับสนุนรูปแบบภาษาได้หลากหลาย ตั้งแต่เวอรืชั่นนี้สามารถใช้งานโปรแกรมผ่านอินเทอร์เน็ตได้เพราะไมโครซอฟท์ได้จัดให้มีออฟฟิศออนไลน์คือไม่จำเป็นต้องลงออฟฟิศในเครื่องเพียงแต่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถใช้งานได้แล้ว และใช้ในอุปกรณ์ที่หลากหลายเช่น PDA Phone สนับสนุน Windows Vista OS


Adobe Dreamweaver CS3


โปรแกรมช่วยเขียนภาษา HTML เป็นที่นิยมสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์เพราะเครื่องมือที่หลากหลายซึ่งผู้พัฒนาเว็บไซต์นี้ก็ใช้โปรแกรมนี้เช่นกันโปรแกรมนี้มีรูปแบบการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็น code หรือ design ก็สามารถทำได้

Namo Web Editor


โปรแกรมสำเร็จรูปอีกโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ง่าย มีความคล้ายคลึงกับโปรแกรม Dreamweaver เป็นที่นิยมสำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ เพราะเครื่องมือที่หลากหลายซึ่งผู้พัฒนาเว็บไซต์นี้ก็ใช้โปรแกรมนี้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น code หรือ design ก็สามารถทำได้อย่างง่าย

2. Web Browser คือ ส่วนที่ใช้สำหรับแสดงผลลัพธ์ของเอกสารที่เขียนด้วยภาษา HTML เหมือนกับการคอมไพล์ (Compiled) หรือ รัน (Run) โปรแกรมในภาษาทางคอมพิวเตอร์ทั่วๆ ไป ตัวอย่างของเว็บบราวเซอร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Internet Explorer และ Netscape Navigator Mozila Fire Fox  Web Browser อีกตัวที่น่าสนใจสนับสนุนหลายระบบปฎิบัติการและมีความปลอดภัยสูงในการป้องกันไวรัสและสปายแวร์เป็น Web Browser ที่สามารถหาดาวน์โหลดได้บนอินเทอร์เน็ต
 หลักการออกแบบเว็บไซต์
  • ขั้นตอนที่ 1 กำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์  
                 การสร้างเว็บไซต์นั้นควรเริ่มจากการสร้างแผนผังของเว็บไซต์ก่อน หรือที่เรียกว่า  Site Ma
    p
    ดังภาพตัวอย่างมีการกำหนดหน้าเว็บเพจ 4 หน้า   


  • ขั้นตอนที่ 2 กำหนดการเชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจ เราต้องกำหนดการเชื่อมโยงให้เว็บเพจแต่ละหน้าเชื่อมโยงถึงกันเื่พื่อให้กลับไปกลับมาระหว่างหน้าต่าง ๆ ได้ โดยแสดงชื่อไฟล์   HTML  แต่ละไฟล์ที่มีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันดังภาพ 

  • ขั้นตอนที่ 3 การออกแบบเว็บเพจแต่ละหน้า 
            นักเรียนสามารถออกแบบหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าให้สวยงาม โดยเฉพาะในเว็บเพจหน้าแรก ซึ่งเรียกว่า
    โฮมเพจนักเรียนควรออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชม         ในขั้นตอนการออกแบบนี้ บางทีอาจเรียกว่า
    การออกแบบเลย์เอาท์ (Lay Out) สามารถทำได้้โดยการเขียนลงในกระดาษ หรือใช้โปรแกรม
    คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้ 

  • ขั้นตอนที่ 4 การสร้างเว็บเพจแต่ละหน้า    
          นำเว็บเพจที่ออกแบบไ้ว้มาสร้างโดยใช้ภาษาhtml หรืออาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นFrontPage, Macromedia  Dreamweaverหรือโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ตามความถนัด  


  • ขั้นตอนที่ 5 การลงทะเบียนขอพื้นที่เว็บไซต์      เป็นการเผยแพร่เว็บไซต์ที่สร้างเสร็จแล้วเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บุคคลอื่น ๆ สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้  วิธีการก็คือนำเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นไปไว้บนพื้นที่  ที่ให้บริการ(Web Hosting) ซึ่งมีพื้นที่ ที่ให้บริการฟรี และแบบที่ต้องเสียค่าบริการ


  • ขั้นตอนที่ 6 การอัพโหลดเว็บไซต์  
         หลังจากสร้างเว็บไซต์และลงทะเบียนขอพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์แล้ว   ให้ใช้โปรแกรมสำหรับอัปโหลด (Upload)  เช่นโปรแกรม  CuteFTPเพื่อให้คนทั่วโลกสามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้




รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์

      การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ความถนัดของผู้ออกแบบ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบใหญ่ๆ ได้ดังนี้

1.โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ (Sequential Structure)

    เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วยโครงสร้างแบบนี้มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราว ตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดรรชนี สารานุกรม หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อนใช้การลิงค์ (Link) ไปทีละหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่องในลักษณะเส้นตรง โดยมี ปุ่มเดินหน้า-ถอยหลัง เป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้างระบบนี้คือ ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ทำให้เสียเวลา ในการเข้าสู่เนื้อหา


2.โครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)
    เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจัดระบบโครงสร้างที่มีความซับซ้อนของข้อมูล โดยแบ่งเนื้อหา ออกเป็นส่วนต่างๆ และมีรายละเอียดย่อย ๆ ในแต่ละส่วนลดหลั่นกันมาในลักษณะแนวคิดเดียวกับ แผนภูมิองค์กร จึงเป็นการง่ายต่อการทำความเข้าใจกับโครงสร้างของเนื้อหา ลักษณะเด่นคือการมีจุดเริ่มต้นที่จุดร่วมจุดเดียว นั่นคือ โฮมเพจ (Homepage) และเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับจากบนลงล่าง


3.โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง (Grid Structure)
    โครงสร้างรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่ผ่านมา การออกแบบเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ โดยเพิ่มการเชื่อมโยง ซึ่งกันและกันระหว่างเนื้อหาแต่ละส่วน เหมาะแก่การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กันของเนื้อหา การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้จะไม่เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง เนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ เช่น ในการศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ โดยในแต่ละสมัยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเหมือนกันคือ การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ในขณะที่ผู้ใช้กำลังศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ การปกครองในสมัยอยุธยา ผู้ใช้อาจศึกษาหัวข้อศาสนาเป็นหัวข้อต่อไปก็ได้  หรือจะข้ามไปดูหัวข้อการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนก็ได้เพื่อ
เปรียบเทียบลักษณะข้อมูลที่เกิดขึ้นคนละสมัย
 

4. โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม (Web Structure)
     โครงสร้างประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด ทุกหน้าในเว็บสามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกันได้หมด เป็นการสร้างรูปแบบการเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นอิสระ ผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาได้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยงเนื้อหาแต่ละหน้าอาศัยการโยงข้อความที่มีมโนทัศน์ (Concept) เหมือนกัน ของแต่ละหน้าในลักษณะของไฮเปอร์เท็กซ์หรือไฮเปอร์มีเดีย โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็นรูปแบบที่ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นนอนตายตัว (Unstructured) นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จำกัดเฉพาะเนื้อหาภายในเว็บนั้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหาจากเว็บภายนอกได้
 
หลักในการสร้างเว็บเพจ

เว็บเพจคือหน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์ สรุปหลักการในการสร้างเว็บเพจได้ดังนี้
1. การวางแผน
          -กำหนดเนื้อหา ก่อนลงทำเว็บเราจะต้องรู้ว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร เนื้อหาเป็นอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด ทั้งนี้เพื่อที่เราจะได้นำเนื้อหา เหล่านั้นมาใส่ในเว็บเพื่อแสดงให้รู้ว่า เนื้อหาโดยรวมเกี่ยวกับอะไร   เช่น  เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ต้องมีข้อมูลของคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด ลักษณะ ราคาแต่ละุ่รุ่นและสถานที่ขาย เป็นต้น
        -ออกแบบมุมมองในหน้าเว็บ (LayOut) คือการจัดวางองค์ประกอบในเว็บเพจว่าส่วนใดควรจะมีอะไร อาจทำโดยการร่างใส่กระดาษเปล่า ๆ ไว้ก่อนหรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบก็ได้    การใช้ตารางช่วยในการจัดองค์ประกอบในหน้าเว็บนั้นจะทำให้เว็บเพจมีความเป็นระเบียบยิ่งขึ้น และสะดวกต่อการแก้ไข ปรับปรุง         

2. การเตรียมการ
             เช่น การเตรียมการด้านข้อมูลทั้งที่เป็นเนื้อหา ภาพ เสียง หรือสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่นักเรียนคิดว่าต้องการจะนำเสนอในการทำเว็บเพจนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่าเราจะทำเว็บเกี่ยวกับอะไร การรวบรวมข้อมูลก็มีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เช่น ถ้าจะทำเว็บ เกี่ยวกับ โรงเรียน ก็ต้องไปหาคติพจน์ประจำโรงเรียน สีประจำโรงเรียน บุคลากรในโรงเรียน ประวัติโรงเรียน ฯลฯ มารวบรวมไว้  แล้วหลังจากนั้นก็เอาข้อมูลนั้นมาจัดรูปแบบในเว็บต่อไป การหาเครื่องมือในการจัดทำนั้น ก็เป็นเรื่องสำคัญเครื่องมือในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมการทำงานต่าง ๆ เช่นโปรแกรมจัดการรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ  โปรแกรมในการจัดทำเว็บเพจ
จะใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหรือจะใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสร้างต้องเตรียมการให้พร้อม

3. การจัดทำ
             เมื่อวางแผนและเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดทำ  อาจจะทำคนเดียว หรือทำเป็นกลุ่ม โดยใช้เครื่องมือที่เตรียมไว้ ซึ่งจะอธิบายถึง วิธีการจัดทำหรือวิธีการสร้างเว็บเพจในลำดับต่อไป 
4. การทดสอบและการแก้ไข
             การสร้างเว็บเพจทุกครั้งควรจะมีการทดสอบก่อนเผยแพร่ทุกครั้งเพื่อหาข้อบกพร่องแล้วนำมาแก้ไขการทำเว็บนั้นเมื่อทำเสร็จและอัปโหลดไปไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์แล้ว ให้ทดลองแนะนำเพื่อนที่สนิทชิดเชื้อและใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ ลองเปิดดูและให้บอกข้อผิดพลาดมา เช่น การเชื่อมโยงต่าง ๆ , รูปภาพ และตัวอักษร ว่าถูกต้องช้าไป หรือเปล่า หากทดสอบจากเครื่องของตนเองแล้ว ข้อผิดพลาดต่างๆ มักจะไม่ค่อยปรากฏให้เห็นเนื่องจากว่าข้อมูลต่าง ๆ  จะอยู่ในเครื่องของตนเองและการเชื่อมโยงต่างๆ เช่นกัน โปรแกรมจะทำการค้นหาในเครื่องจนพบ ทำให้เราไม่เห็นข้อผิดพลาด หลังจากทดสอบแล้วให้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาด

5. การนำเว็บเพจต่าง ๆ มารวบรวมเป็นเว็บไซต์